ชีวิต…ไม่มีอะไรน่ากลัวมากไปกว่า “ใจ”

ชีวิต…ไม่มีอะไรน่ากลัวมากไปกว่า “ใจ” ของเราเอง
ที่ยอมจำนน ยอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรคต่างๆที่พบเจอ

จงจำให้ขึ้นใจว่า “อุปสรรค” นั่นเป็นเพียง สีสันของชีวิต
ที่ช่วยเติมแต่งชีวิตให้มีรสชาติเท่านั้น

เมื่อสามารถควบคุมหรือเอาชนะความกลัวได้ สิ่งที่
ตามมาคือ จะทำให้เกิดความเข้มแข็ง และเกิดกำลังใจ
พร้อมที่จะสู้กับทุกสิ่งทุกอย่างต่อไปได้อย่างง่ายดาย

ฉะนั้น อย่ายอมจำนน อย่ายอมพ่ายแพ้ต่ออุปสรรค
ต่างๆ ที่พบเจอในชีวิต สู้ๆๆ

ความสุขที่สามารถสร้างได้ทุกวัน..

การทำสิ่งเล็กๆน้อยๆ ทุกวัน ให้เหมาะกับภาวะของตน
เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย เดินเล่นในสวน
รับประทานอาหารที่ชื่นชอบ ฟังเพลงที่โปรด นั่งสมาธิ ฯลฯ

เหล่านี้ล้วนเป็นกิจกรมที่ทำให้มีความสุขได้ อย่างง่ายๆ
ดีกว่าปล่อยชีวิตให้ซึมเศร้า เหงาหงอย หมดไปวันๆ

เหมือนแบตเตอรี่ อย่าใช้อย่างเดียว ต้องรู้จักการชาร์จ
เพื่อเพิ่มพลังงานใหม่ด้วย..!

มาทำประกันชีวิตตามแนวพุทธศาสนากันเถอะ



๑. ไม่โหดร้าย = หมั่นเจริญเมตตา ใจสดใส ใจมีความสุข
จักไม่แก่ง่าย ตายเร็ว ไม่ต้องไปฆ่ากัน อยู่กันไม่นานเดี๋ยว
ก็ตายจากกันแล้ว

๒. ไม่มือไว = ไม่อยากจน ต้องขยันหมั่นเพียร กิน
เพราะหิว ใช้เพราะจำเป็น อย่ากิยเพราะอยาก ใช้
เพราะอยาก จะไม่พอกิน พอใช้

๓. ไม่ใจเร็ว = ซื่อสัตย์ต่อคู่ครองของตนเอง ไม่มั่นใจก็อยู่
เป็นโสดไป อย่าไปสร้างเวรสร้างกรรมต่อกัน

๔. ไม่พูดปด = พูดคำจริง คำสุภาพอ่อนโยน คำสนานจิตใจ

๕. ไม่หมดสติ = เจริญสติ เว้นจากสิ่งทำให้ขาดสติ สิ่งที่
ทำให้ควบคุมตนเองไม่ได้ สิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวง

ศีลเป็นหลักประกันความปลอดภัยของชีวิต ปลอดภัย
ทั้งปัจจุบัน และอนาคต ทั้งภพนี้ และภพหน้า..!

ชีวิตนอกกรอบ คือการสร้างองค์ความรู้ใหม่

หากไม่คิดนอกกรอบ ชีวิตจะมีแต่มุมมองแคบๆ วนเวียน
กับสิ่งที่รู้และคุ้นเคยกับแบบเก่าๆเท่านั้น ไม่ทำให้เกิด
ความคิดสร้างสรรค์ หากไม่ฝึกคิดในมุมมองใหม่ๆ ก็จะมีแต่
แนวคิดแบบเดิมๆ ซึ่งทำให้ชีวิตหยุดอยู่กับที่ไม่พัฒนา

การคิดนอกกรอบ ทำให้ชีวิตได้ประสบการณ์ใหม่ๆ
มีความตื่นเต้น ทำให้ได้ฝึกคิดอยู่เสมอ

จะคอยกระตุ้นให้มีชีวิตชีวาจากการเจอเรื่องไม่คาดฝัน
จะช่วยให้สมองได้ฝึกคิดหาวิธีที่แปลกใหม่ พบเรื่องเพื่อให้
แก้ปัญหาอยู่เรื่อยๆ ทำให้ฝึกสมอง และชีวิตฉลาดขึ้น

ชีวิตนอกกรอบ คือการสร้างองค์ความรู้ใหม่..!

รวงข้าวที่สมบูรณ์ จะไม่ชูรวง..


ความถ่อมตน: คือ การพิจารณาข้อบกพร่องของตนเอง
รู้จักตนเองไม่อวดตัวดื้อรั้น และยอมรับคุณงานความดีของ
ผู้อื่นมาเป็นแบบปฏิบัติต่อตนเองได้อย่างเต็มที่

ลักษณะผู้มีความถ่อมตน: ผู้ที่มีความถ่อมตน จะเป็นผู้รู้
คุณค่าของตนเองตามความเป็นจริง เป็นผู้ที่ตั้งตนอยู่ในปัญญา
รู้จักตัวเองดีว่าตัวเรา มีอะไร ไม่มีอะไร ดังนั้นผู้ที่มีความถ่อมตน
จะมีลักษณะการแสดงออกที่ดีเด่นกว่าคนทั้งหลาย เช่น

๑. มีกริยาอ่อนน้อม: คือ การแสดงกริยาท่าทางที่นุ่มนวล
ต่อคนทั่วไป รู้จักที่ต่ำที่สูง ไม่ตีตนเสมอท่าน สงบเสงี่ยม

๒. มีวาจาอ่อนหวาน: คือ การพูดจาสุภาพอ่อนโยน ซึ่งออก
มาจากจิตใจที่สะอาดนุ่มนวล ไม่ก้าวร้าวแข็งกระด้างในการ
พูด ไม่พูดโอ้อวด ยกตัวข่มท่าน และเห็นใครทำดี ก็แสดง
ความจริงใจ ชมเชย เมื่อตนทำสิ่งที่ผิดพลาดก็กล่าวคำว่า
“ขออภัย”

๓. มีจิตใจอ่อนโยน: คือ ความนอบน้อมละมุนละม่อม
ถ่อมตัว แต่ไม่ใช่ความอ่อนแอ มีภาวะจิตใจที่เข้มแข็ง แต่
มิใช่ความแข็งกระด้าง

นอกจากนี้ควรพยายามฝึกฝนตนเองให้มีจิตใจที่เปิดกว้าง
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ถือเอาความคิด
ของตนเองเป็นใหญ่ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ใช้สติปัญญาปรับความคิดเห็นเข้าหากัน ย่อมมี
คุณประโยชน์เป็นการพัฒนาตัวเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เปรียบดัง “รวงข้าวที่สมบูรณ์ จะไม่ชูรวง”..!